โรคเหา เกิดจากเชื้อที่ชื่อว่า 'Pediculus humanus' ซึ่งชอบอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน และจะคอยดูดกินเลือดเป็นอาหาร เหาจะวางไข่บนเส้นผม ที่บริเวณปลายด้านหนึ่งของไข่จะมีสารไคติน ทำให้เหาเกาะติดแน่นกับเส้นผม
ลักษณะของไข่เหา
ไข่มีขนาดเล็กแต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยจะมีลักษณะเป็นวงรี ยาว 1 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น มีได้ร้อยถึงพันฟอง เหาจะวางไข่ที่บริเวณโคนรากผม เมื่อผมยาวขึ้นก็จะเห็นไข่เหาเขยิบออกห่างจากหนังศีรษะมากขึ้น โดยมากพบไข่เหาที่ศีรษะด้านท้ายทอย หลังหู น้ำลายของตัวเหาซึ่งจะมีสารซึ่งระคายเคืองผิวหนังอาจมีอาการคันร่วมด้วย
การติดต่อ
เหาสามารถติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง จากการใช้หวี แปรง หมอน ที่นอน หมวก ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน เด็กๆที่เล่นด้วยกันก็สามารถติดเหาจากศีรษะคนหนึ่งไปที่ศีรษะอีกคนหนึ่งได้
ป้องกันได้โดย
ระวังไม่ให้ลูกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งควรทำความสะอาดเครื่องนอนปลอกหมอน โดยการซัก ตากแดด หรือต้มในน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อ
วิธีกำจัดเหา
การกำจัดไข่เหา ทำได้โดยใช้หวีเสนียดสางผม จะทำให้ตัวเหาและไข่เหาหลุดติดกับหวีออกมา และการใช้ยาฆ่าเหา ซึ่งวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของยา
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act