ผิวหนังของทารกบอบบาง ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ทำให้ทารกเกิดผื่นแพ้ได้ง่าย และทารกภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงเหมือนผู้ใหญ่ ทารกจึงต้องการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
ศีรษะ
บริเวณกระหม่อมหน้า เป็นส่วนของกะโหลกศีรษะที่ยังเชื่อมต่อกันไม่สนิท เป็นบริเวณที่ยังไม่มีกระดูกแข็งมาปิด ช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน จะมีไขสีขาวบนหนังศรีษะ เป็นแผ่นสะเก็ดแข็งๆ ก่อนสระผมให้ลูก ควรใช้เบบี้ออยด์ชะโลมหนังศีรษะทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันซึมลึกถึงรากผม และอาบน้ำ พร้อมสระผมโดยใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนในการอาบ และสระ เมื่อเสร็จแล้วเช็ดศีรษะลูกจนแห้งสนิท
บริเวณซอกต่างๆ
ซอกคอ ใต้คาง รักแร้ และบริเวณข้อพับขา หรือบริเวณที่ทำความสะอาดได้ยาก
บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม
บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมจากการหมักหมมของอุจจาระและปัสสาวะ การทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือ ใช้น้ำเปล่ากับสบู่ที่ใช้อาบน้ำปกติของลูก ควรเลี่ยงสบู่ที่มีฟองมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ผิวแห้ง และเกิดอาการระคายเคืองได้
สะดือ
ปกติสายสะดือจะค่อยๆแห้งและหลุดไปเองหลังคลอด 2-3 สัปดาห์ บริเวณสายสะดืออาจทำให้เกิดการ นานสุดไม่เกิน 1 เดือน ขณะที่สายสะดือยังไม่หลุด คุณแม่ควรดูแลบริเวณนี้ให้แห้งอยู่สม่ำเสมอ หลังอาบน้ำควรใช้คอตตอนบัดซับน้ำออกอย่างเบามือ จนแห้ง และหลีกเลี่ยงการปิดผ้าก๊อซหรือใส่ผ้าอ้อมปิดทับบริเวณสายสะดือของลูกน้อย เพราะอาจจะทำให้สะดือลูกน้อยเกิดการอับชื้นได้
บริเวณสะดือติดเชื้อได้ง่าย การทำความสะอาดสายสะดือด้วยแอลกอฮอล์เช้า- เย็น หากผิวหนังรอบๆสะดือแดง มีกลิ่นเหม็น มีน้ำเหลือง แสดงว่าเกิดการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์
ขอบคุณบทความจาก
พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ
เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act