การที่เด็กนอนดึก นอนไม่อิ่ม นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนกรน หรือมีหยุดหายใจ ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับ พัฒนาการและความฉลาดของลูก การที่เด็กได้พักผ่อนเพียงพอ จะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และความจำดีตามไปด้วย
พฤติกรรม การนอนของเด็ก ในแต่ละวัย
• ทารกและเด็กเล็กจะนอนนาน 16-18 ชั่วโมงต่อวัน
• เด็กเมื่อโตขึ้นจะนอนน้อยลง
• เด็กอายุ ขวบครึ่ง เด็กจะนอน10-12 ชั่วโมง
• หลังอายุ 5-6 ขวบจะลดลงเหลือ 8-10 ชั่วโมง และเลิกนอนกลางวัน
การนอน ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยอย่างไร
บางครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่กลับบ้านดึก หรือทำงานช่วงกลางคืน เด็กจะปรับตัวนอนดึกตาม และตื่นสาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้มีปัญหาตามมาในช่วงเปิดเทอมซึ่งต้องกลับมาตื่นเช้าไปโรงเรียน และหากลูกนอนไม่พอ เช่น เปลี่ยนที่นอนทำให้นอนไม่หลับ เด็กติดเปลเมื่อมานอนเตียงก็ไม่ยอมนอน หรือในเด็กป่วย หอบหืด กรน อาจนอนไม่สนิทดิ้นไปมา เหล่านี้นอกจากจะมีผลต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาการของสมอง เพราะเด็กอาจง่วง ไม่มีสมาธิ เรียนไม่รู้เรื่องช่วงกลางวัน มีผลกับความจำและความคิดสร้างสรรค์
สำหรับในเด็กกลุ่มที่นอนเร็ว จำนวนชั่วโมงที่นอนรวมกันค่อนข้างเยอะ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกิจกรรมของเด็กช่วงกลางวัน ถ้าเล่นมาก เหนื่อยมาก ก็จะหลับยาว หรือในเด็กที่ไม่สบายก็จะต้องการการพักผ่อนต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้น
ปัจจัยการนอนหลับที่ดีของลูก
ทั้งนี้แนะนำให้เป็นตามธรรมชาติของลูก เด็กแต่ละคนจะมีนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ของตนเอง หากน้ำหนักขึ้นดี การเจริญเติบโตเป็นปกติ พัฒนาการปกติเป็นไปตามวัย ลูกสดใสร่าเริงก็ไม่ต้องกังวล คุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้นอนหลับให้เพียงพอตามวัย สถานที่นอนควรเงียบ อากาศถ่ายเทดี แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าการที่นอนเยอะจะเชื่อมโยงกับโรคหรือไม่ หรือเด็กบางคนที่กินแล้วนอนเลยก็อาจเสี่ยงต่อโรคอ้วน แนะนำให้ไปพบแพทย์ค่ะ
ขอบคุณบทความจาก
พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ
เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act