โรคไทฟอยด์ (Typhoid fever หรือ Enteric fever) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา ไทฟี (Salmonella typhi) ซึ่งสถานการณ์การติดเชื้อไทฟอยด์ในประเทศไทยปัจจุบันมีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากการสาธารณสุขและสุขอนามัยที่ดีขึ้น
ไข้ไทฟอยด์ติดต่ออย่างไร?
การติดเชื้อไทฟอยด์จะติดต่อได้ง่าย จากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา ไทฟี (Salmonella typhi) โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค และการเดินทางท่องเที่ยวไปในบริเวณที่มีการระบาดของโรค ถึงแม้ว่าเด็กมีแนวโน้มจะติดเชื้อไทฟอยด์ได้ง่ายกว่า แต่ผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่า
จะสังเกตว่าลูกท้องเสียจากโรคไข้ไทฟอยด์อย่างไร?
• หากลูกได้รับเชื้อจะเริ่มมีไข้สูง มีอาการซึม
• อาจมีท้องผูกหรือท้องเสีย จนถึงท้องร่วง
• มีอาการถ่ายเหลว อุจจาระมีมูกเลือดปน
• และอาจมีผื่นขึ้นตามตัวของลูก
วิธีป้องกันลูกจากการติดเชื้อโรคไทฟอยด์
• สอนให้ลูกล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
• ให้ลูกทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขอนามัย
• หลีกเลี่ยงพาลูกๆ ไปเที่ยวในบริเวณที่มีการระบาดของโรค
คำถามก็คือ...จำเป็นต้องพาเด็ก ๆ รับวัคซีนไข้ไทฟอยด์หรือไม่?
ถ้าหากผู้ปกครองมีแผนที่จะพาน้อง ๆ ไปเที่ยวในประเทศที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อินเดีย เนปาล หรือในแถบแอฟริกา แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันก่อนเดินทาง ทั้งนี้อาจต้องปรึกษาแพทย์อีกครั้ง โดยวัคซีนที่มีในไทยเป็นชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งหากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสามารถกระตุ้นซ้ำได้ทุก 3 ปี ส่วนวัคซีนชนิดกินปัจจุบันไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย และประสิทธิภาพต่ำกว่า คือ ร้อยละ 60-70
ขอบคุณบทความจาก
พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ
เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act