อาหาร ยา เครื่องหุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการดำรงชีวิตที่เรียกว่า ‘ปัจจัย 4’ แต่สำหรับเด็ก ปัจจัย 4 ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ก็คือ อาหาร การนอนหลับ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และสัมผัสที่อ่อนโยนจากพ่อแม่หรือจากใครสักคนที่อยู่ตรงนั้นเพื่อเขาในยามที่เขาต้องการ มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมสัญชาตญาณพื้นฐานที่จำเป็นในการเอาชีวิตรอด ที่เราเรียกว่า Primitive Reflexes หรือ รีเฟล็กซ์ดั้งเดิม โดยทารกจะร้องไห้เมื่อรู้สึกไม่สุขสบาย ‘เสียงร้องไห้’ ของเด็กเป็นสัญชาตญาณของร่างกายเพื่อเรียกให้คุณพ่อคุณแม่ หรือ ‘ใครสักคน’ มาให้นมเขายามหิว มากล่อมเขาให้นอนหลับไป มาอุ้ม มาสัมผัส มาอุ้ม มาพูดคุยกับเขาในยามที่เขารู้สึกไม่ปลอดภัย … เสียงร้องของลูก กลิ่นกายของลูกจะกระตุ้นการหลั่งของ ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ ที่มีชื่อว่า อ็อกซิโทซิน (Oxytocin) จากต่อมใต้สมองที่ควบคุมอารมณ์ของคุณแม่ต่อเสียงร้องไห้ของลูก สร้างความรู้สึกผูกพันระหว่างกัน
ข้อมูลจากงานวิจัยในอดีตพบว่า การอุ้มสัมผัสทารกเพิ่มขึ้น 10 นาทีต่อวัน สามารถช่วยลดการแหวะนมในทารกได้ [1] และพบว่าเด็กที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยการสัมผัส (Tactile Stimulation) เพิ่มขึ้น 20 นาทีต่อวันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 10 สัปดาห์จะมีพัฒนาการตามวัยที่ดีกว่ากลุ่มควบคุม (อ้างอิงจากคะแนนที่ได้จากการประเมินพัฒนาการตามวัย) [2] ในแง่ของอารมณ์ งานวิจัยพบว่าการสัมผัสอันอ่อนโยนสามารถลดความเครียดของเด็กทารกได้ [3] ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันมั่นคง (Secured Attachment) ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับทักษะทางสังคมและการทำงานในอนาคต รวมถึงความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอีกด้วย ในทางกลับกันเด็กที่ขาดการสัมผัสอันอ่อนโยนจะสร้างผลลบต่อเด็กก่อนให้เกิดการแยกตัวออกจากสังคม พฤติกรรมรุนแรง และปัญหาทางจิตอารมณ์อย่างโรคซึมเศร้าได้
TIPS : ในขณะที่นวดสัมผัสอย่างอ่อนโยน คุณพ่อคุณแม่สามารถสบตา พูดคุย และร้องเพลงเบา ๆ ไปด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นการมองเห็น การได้ยิน และพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีนี่แหละ สิ่งเล็ก ๆ ที่ทรงพลังจากพลังสัมผัสอันอ่อนโยน ที่สานสัมพันธ์แม่ลูกให้แข็งแรง ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีได้
เอกสารอ้างอิง
[1] Hopper HE, Pinneau SR. Frequency of regurgitation in infancy as related to the amount of stimulation received from the mother. Child Dev. 1957;28:229–35.
[2] Casler L. The effects of extra tactile stimulation on a group of institutionalized infants. Genet Psychol Monogr. 1965;71:137–75.
[3] Feldman R, et al. Touch attenuates infants' physiological reactivity to stress. Dev Sci 2010 Mar;13(2):271-8.
[4] McEwen BS, Gaianaros PJ. Stress- and allostasis-induced brain plasticity. Annu Rev Med. 2011;62:431-45.
[5] Meaney MJ, et al. Early postnatal handling alters glucocorticoid receptor concentrations in selected brain regions. Behav Neurosci. 1985 Aug;99(4):765-70.
[6] Mrljak R, et al. Effects of Infant Massage: A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health. 2022 Jun; 19(11): 6378.
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act