ช่วงตั้งไข่และหัดเดิน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้เสมอตลอดเวลา คุณแม่คุณพ่ออาจต้องให้ความระมัดระวัง ทั้งนี้ความรุนแรงจะแตกต่างไป ขึ้นกับหลายๆปัจจัย เช่น
- ตำแหน่งที่ศีรษะกระแทกพื้น
- อายุของผู้ป่วย
- โรคประจำตัว
- ยาที่รับประทานขณะนั้น
หากเด็กรับประทานยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้อุบัติเหตุรุนแรงกว่าปกติ
ผู้ที่ประเมินแล้วมีความเสี่ยงต่ำ แพทย์จะรักษาตามอาการ ให้กลับบ้าน พร้อมให้คำแนะนำไปสังเกตอาการที่บ้าน หากมีปัจจัยเสี่ยงปานกลางหรือรุนแรง เช่น หมดสติ มีการสูญเสียความจำ อุบัติเหตุรุนแรง ให้สังเกตอาการที่โรงพยาบาล และ/หรือตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
อาการที่ต้องสังเกตุและรีบกลับไปพบแพทย์ หากลูกมีประวัติศีรษะกระแทกพื้น (Head injury)
- อาเจียนบ่อย
- ปวดศีรษะ รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ทุเลา
- กระสับกระส่าย การพูดผิดปกติ
- ซึม ชัก แขนขาอ่อนแรง
- ตาพร่ามัว เดินเซ มีรอยช้ำรอบดวงตา หลังหู
- ในเด็กเล็กอาจบอกอาการยังไม่ได้ หากลูกซึมลง เล่นน้อยลง ไม่รับประทานอาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลงแนะนำให้รีบไปพบแพทย์
หากลูกมีประวัติหกล้มบ่อย แนะนำให้พบกุมารแพทย์หรือกุมารศัลยแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
ขอบคุณบทความจาก
พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ
เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act