โรคมือเท้าปาก สาเหตุเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้ตลอดปีแต่ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนโรคเฮอร์แปงไจนา เป็นการติดเชื้อในกลุ่มเอนเทอโรไวรัสประเภทเดียวกันกับมือเท้าปาก แล้วโรคมือเท้าปาก แตกต่างจากโรคเฮอร์แปงไจน่าอย่างไร?
โรคมือ เท้า ปาก
ช่วงนี้ฝนตกอากาศชึ้นจึงพบอัตราการระบาดของโรคมือเท้าปากสูงขึ้น ส่วนใหญ่สามารถติดต่อได้โดยการได้รับเชื้อไวรัสเข้าทางบริเวณปากโดยตรง เชื้อจะมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มแผล การไอและจามรดกัน
ลักษณะอาการของโรคมือเท้าปาก
- ส่วนใหญ่เด็กๆจะเริ่มมีอาการป่วย 3- 6 วันหลังได้รับเชื้อ
- เริ่มมีไข้
- เริ่มมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า
- บางรายที่อาการรุนแรงจะมีผื่นที่ขาและก้นได้ด้วย ซึ่งกว่าผื่นจะหายประมาณ 7-10 วัน
โรคเฮอร์แปงไจนา
เฮอร์แปงไจนา เป็นการติดเชื้อในกลุ่มเอนเทอโรไวรัสประเภทเดียวกันกับมือเท้าปาก แต่เฮอร์แปงไจนามีแค่ตุ่มในปาก เพดานปากและกระพุ้งแก้ม แต่จะไม่มีตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าเหมือนในโรคมือเท้าปาก
เมื่อสงสัยว่าลูกอาจติดเชื้อ เป็นโรคมือเท้าปากหรือเฮอร์แปงไจนาควรพาน้องไปพบคุณหมอนะคะ ปกติจะไม่มียารักษาจำเพาะ และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
- ควรนอนพักผ่อนมากๆ
- ทานอาหารอ่อน ไม่ร้อนจัด
- ดื่มน้ำหรือนมแช่เย็น
- อาจใช้ยาชาช่วยบรรเทาการเจ็บแผลในปาก
ส่วนใหญ่ในรายที่อาการรุนแรงจะเกิดจากการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส71 ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึม ชักและหมดสติได้
ข้อควรปฎิบัติในการป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา
- ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
- ทำความสะอาดของเล่น ห้องน้ำ อุปกรณ์เครื่องใช้ของเด็ก
- เปิดห้องให้อากาศถ่ายเทและแสงแดดส่องถึง
- ให้เด็กๆล้างมือบ่อยๆ
- งดใช้แก้วน้ำและสิ่งของร่วมกันจะช่วยลดการระบาดของโรคได้
ขอบคุณบทความจาก
พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ
เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act