วิตามินซี (vitamin C) หรือกรดแอล-แอสคอร์บิก (L-ascorbic acid) เป็นวิตามินประเภทที่สามารถละลายในน้ำได้ และเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเราและเด็กๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่ากลัวเมื่อลูกขาดวิตามินซี แล้วเราจะมีป้องกันไม่ให้เด็กๆ ขาดวิตามินซีอย่างไร
คุณสมบัติของวิตามินซี
วิตามินซีมีหน้าที่หลายๆ อย่าง เช่น
- ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย
- ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
- ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุเหล็ก
โรคลักปิดลักเปิด
โรคลักปิดลักเปิด หรือ Scurvy เกิดจากการขาดวิตามินซี เดิมพบโรคนี้ในกะลาสีเรือที่แล่นเรืออยู่ในทะเลเป็นเวลานานและไม่ได้รับประทานผักสดผลไม้ ปัจจุบันพบโรคนี้น้อยมาก เช่น
- พบได้ในเด็กที่กินนมผสมที่ชงเจือจาง
- แม่ที่ใช้นมข้นหวานเลี้ยงทารก
- และพบได้ในทารกที่ดื่มนมแม่ ซึ่งแม่ไม่ได้รับประทานผักและผลไม้
ในผู้ใหญ่พบในผู้ที่มีประวัติการรับประทานอาหารยาก เลือกกิน หรือไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
ร่างกายจะต้องการวิตามินสูงขึ้นเมื่อ
- มีไข้ ไม่สบาย
- แผลติดเชื้อหรือมีแผลไฟไหม้
- น้ำร้อนลวกตามร่างกายในบริเวณกว้างๆ
เมื่อลูกขาด วิตามินซี จะมีอาการ อย่างไร
โดยทั่วไปเรามักจะรู้จักการขาดวิตามินซีจากอาการที่มีเหงือกบวมและเลือดออกตามไรฟัน แต่ในเด็กที่มีการขาดวิตามินซีอาจมาด้วยอาการอื่น เช่น
- ไม่ค่อยทานนม
- เบื่ออาหาร
- ซึม
- ร้องกวน
- กระสับกระส่าย
- หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องน้ำหนักตัวน้อย
ซึ่งส่วนมากในเด็กๆ ที่ขาดวิตามินซีจะมีลักษณะอาการ ดังนี้
- มีอาการป่วย หรือไม่สบายบ่อยๆ
- ถ้าเป็นเด็กโตจะมีอาการปวดขา ไม่ยอมเดิน เนื่องจากการบวมที่หน้าแข้งและมีเลือดออกที่เยื่อหุ้มกระดูก
- นอกจากนี้ยังทำให้แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีจะช่วยในการสมานแผล และการป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย
- เป็นแผลในปาก
- ผิวหนังจะแห้ง เพราะวิตามินซีช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน
- และอาจพบจุดเลือดออกบริเวณผิวหนัง จ้ำเลือด
- มีเลือดออกในข้อ
- เลือดออกในตา
- และพบภาวะโลหิตจางร่วมด้วยได้
วิตามินซีถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้นเพื่อป้องกันการขาดวิตามินซี แนะนำให้รับประทานผักสดและผลไม้รสเปรี้ยวซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ให้วิตามินซีสูง ได้แก่ บล็อกโคลี่ กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ผักขม ส้ม เบอร์รี่ แคนตาลูป ฝรั่ง เป็นต้น
ข้อเสีย การรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไป
การรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไปอาจมีข้อเสียได้ เช่น
ในแต่ละวันร่างกายต้องการวิตามินซีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพขณะนั้น หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์
ขอบคุณบทความจาก
พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ
เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
© 2021 Osotsapa Company (Limited), All Rights Reserved. Privacy Policy/Terms of Service/CA Transparency Act